top of page

7วิธีเตรียมรับมือไฟไหม้ ฉบับสถานประกอบการ

Updated: Apr 21, 2021

จากเหตุการณ์ไฟไหม้ที่เกิดขึ้น พบว่าสาเหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร การก่อให้เกิดประกายไฟในจุดที่มีเชื้อเพลิง ความเสียดทานและการเกิดประกายไฟจากเครื่องจักรขัดข้อง รวมไปถึงการไม่มีมาตรการระวังการเกิดไฟไหม้ในจุดที่ใช้ไฟหรือความร้อนสูงต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งไฟไหม้เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวอาคารและทรัพย์สิน รวมไปถึงการที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย และบ้านเรือนใกล้เคียงอีกด้วย ในวันนี้ BIASจะขอนำเสนอ 7 วิธีเตรียมรับมือไฟไหม้เพื่อให้สถานประกอบการของท่านปลอดภัยจากไฟไหม้ หรือสามารถลดความเสียหายจากเหตุการณ์ไฟไหม้ค่ะ


1.โครงสร้างตัวอาคารแบบไม่ลามไฟ โดยปกติ โครงสร้างอาคารมีด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่โครงสร้างเหล็ก คอนกรีต และไม้ ซึ่งจะขอกล่าวถึงโครงสร้างแบบเหล็ก เนื่องจากโครงสร้างคอนกรีตมีคุณสมบัตินำความร้อนต่ำอยู่แล้วค่ะ โดยทั่วไปอาคารที่ไม่สูงมาก นิยมใช้เหล็กเป็นโครงสร้างซึ่งถ้าหากเป็นโครงสร้างอาคารเหล็ก ท่านควรเลือกใช้วัสดุที่นำความร้อนต่ำ ฉาบโครงสร้างเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟเผาโครงสร้างอาคารโดยตรง เพื่อเป็นการยืดเวลาในการระงับเหตุเพลิงไหม้ และเคลื่อนย้ายคนออกจากที่เกิดเหตุก่อนที่โครงสร้างจะพังลง


2.บันไดหนีไฟ และ ทางหนีไฟ ข้อนี้จำเป็นอย่างมากในกรณีที่สถานประกอบการของท่านโดยเฉพาะสถานประกอบการที่มีจำนวนมากกว่า 4 ชั้น หรือ 3ชั้นที่มีดาดฟ้า และสถานประกอบการที่มีความหนาแน่นของคนเป็นจำนวนมาก

เนื่องจากเวลาไฟไหม้คนส่วนใหญ่จะหนีเอาตัวรอด ดังนั้นการมีทางหนีไฟ หรือบันไดหนีไฟในจุดต่างๆ ควรตรวจเช็คป้ายทางหนีไฟ แผนผังทางหนีไฟ ตรวจสอบสภาพประตูให้มั่นใจว่าทางหนีไฟใช้งานได้ และห้ามนำสิ่งกีดขวางวางไว้ระหว่างทางหนีไฟนะคะ จะช่วยลดการโกลาหลของผู้คนได้มากขึ้นค่ะ


3.การซ้อมหนีไฟ ต่อให้่มีอุปกรณ์ดับเพลิงที่ดีพร้อมแค่ไหน หากพนักงานของท่านไม่มีความรู้ในการใช้งานก็ไร้ประโยชน์ การซ้อมหนีไฟจึงเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้หลายๆข้อที่ผ่านมาเลยค่ะ

ถ้าหากในสถานประกอบการของคุณมีจำนวน 10 คน ขึ้นไป คุณควรจะมีการซ้อมหนีไฟปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้พนักงานของคุณเข้าใจวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงให้เหมาะสมกับต้นเหตุเพลิงไหม้ เผชิญหน้าเมื่อเกิดเหตุอย่างมีสติ และสามารถควบคุมเพลิงเบื้องต้นได้ค่ะ


4.ตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์ดับไฟหรือสัญญาณเตือนไฟไหม้ คุณควรจะตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์ดับไฟหรือสัญญาณเตือนไฟไหม้และการตรวจการทำงานของเครื่องตรวจสอบควันไฟให้มีเสียงดังพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้พนักงานหรือลูกค้าในสถานประกอบ การของท่านจะได้เตรียมตัวดับเพลิงเบื้องต้น หรือออกจากจุดเกิดเหตุได้ทันท่วงที เช่น สปริงเกอร์ควรจะดูมีความชุ่มชื้น ไม่แห้งหรือขึ้นสนิม ตรวจเช็คถังดับเพลิงเสมอๆ


5.ติดตั้งฉนวนกันร้อนแบบไม่ลามไฟ การติดตั้งฉนวนกับร้อนแบบไม่ลามไฟเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากฉนวนกันร้อนแบบไม่ลามไฟสามารถชะลอการลุกลามของเพลิงไหม้ได้ค่ะ รวมไปถึงการลดอุณภูมิที่เกิดจากอากาศร้อนภายนอก ซึ่งเป็นอีกสาเหตุเกิดเพลิงไหม้ และยังทำให้ประหยัดพลังงานจากการเปิดแอร์ค่ะ ดังนั้น การติดฉนวนฯเป็นเหมือนการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวเลยค่ะ


6.ตรวจสอบ และซ่อมบำรุงเครื่องจักร เนื่องการขัดข้องของเครื่องจักรอาจจะทำให้เกิดประกายไฟ เกิดความร้อนสูง เกิดการเสียดทาน สายไฟชำรุด สามารถทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ในที่สุดค่ะ ดังนั้นท่านควรตรวจสอบภาพเครื่องจักร และซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการของท่านเพื่อยืดอายุการใช้งาน และป้องกันเหตุเพลิงไหม้ค่ะ


7.ทำประกันอัคคีภัย การทำประกันอัคคีภัยเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินของท่านจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันค่ะ แต่ก่อนจะเลือกทำประกันฯ ท่านควรจะตรวจสอบกรมธรรม์และเบี้ยประกันให้ดีก่อนนะคะ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ในการได้รับการชดเชยค่าเสียหายจากเหตุการไฟไหม้ที่เหมาะสมค่ะ



Photo by Arny Mogensen

66 views0 comments
bottom of page